วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

Tuesday 13 September 2559

        การเรียนการสอน
เข้ามาในห้องเรียนอาจารย์ได้บอกให้นักศึกษาคัด ก ถึง ฮ ใหม่เพราะที่คัดมายังไม่ดีเท่าที่ควรดังนั้น
จึงแจกกระดาษให้นักศึกษาใหม่เพื่อที่จะได้คัดใหม่ให้สวยงามกว่าเดิม





จากนั้นเริ่มเข้าสู่บทเรียน เรื่องของเงา
     
              เงาคืออะไร
เงามืด เป็นอาณาเขตหลังวัตถุ แสงกระทบวัตถุแล้ว จะไปไม่ถึงบริเวณนั้นเลย
เงามัว เป็นอาณาเขตหลังวัตถุ แสงกระทบวัตถุแล้ว จะไปถึงบางส่วนที่เป็นบริเวณนั้น





มาตราฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มี 8 สาระ
          สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ
          สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
 ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ 
          สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
เข้าใจสมบัติของสาร โครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวอนุภาค
         สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
เข้าใจธรรมชาติของแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียส
          สาระที่ 5 พลังงาน
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน
          สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
กระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นในผิวโลกและในโลก
          สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพ
          สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา

กิจกรรมต่อมาคืออาจารย์นำของเล่นวิทยาศาสตร์มาให้ชม

ภาพการสะท้อนของเงา
เป็นภาพตามมุมของเงาสะท้อนให้เห็นหลายๆภาพทั้งๆที่มีหนึ่งเดียว




ภาพการเปลี่ยนแปลงของสองรูป
สองภาพนี้จะเป็นการเคลื่อนไหวโดยที่เราใช้มือเปิดปิดภาพให้เร็วภาพนั้นจะเปลี่ยนไปอีกแบบ




ภาพการมองเห็นเรื่องสีต่างๆ
สีจะเปลี่ยนไปตามที่เราต้องการจะส่องดู



ทักษะที่ได้รับ
      ความคิดสร้างสรรค์
      การออกแบบ
      การวางแผน
      ความรู้พื้นฐาน
      เทคนิคของเล่นแต่ล่ะชิ้น

การนำไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำไปบูรณาการในทักษะต่างๆได้กับเด็กปฐมวัย
      และยังเป็นการทดลองได้อีกด้วย

ประเมินผล
      ประเมินตนเอง  ได้รู้จักของเล่นวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น
      ประเมินเพื่อน     มีออกแบบความคิดเห็นของแต่ล่ะบุคคล
      ประเมินครูผู้สอน  อาจารย์อธิบายละเอียดและให้ความรู้เน้นมากค่ะ
       






Tuesday 6 September  2559

         การเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์ไปเข้าร่วมพิธีเปิดงานของคณะจึงได้ไลน์มาบอกนักศึกษาว่าให้ไปดูวิดีโอเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ตึกวิทยาการชั้น 8 โดยมอบหมายงานให้ดูของเล่นการทดลองในวิดีโอและคัดลายมือ
มาส่งหลังดูวิดีโอจบ



ภายในห้องเรียนที่ดูวิดีโอ 







หลังจากที่ดูวิดีโอเสร็จก็ไปพบกับอาจารย์ที่ตึกนวัตกรรม
เพื่อที่จะดูงานของรุ่นพี่ที่ได้จัดกิจกรรมไว้แล้วก็ออกมานำเสนอของเล่น



การนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์
                    รถของเล่น


อุปกรณ์
    - กระดาษแข็ง




    - มีด



 

    -กรรไกร






   -กาวตราช้าง




  - โครงล้อ


ขั้นตอนการทำ
     วาดโครงสร้างของรถแล้วตัดกระดาษตามรูปวาด
     นำกระดาษที่ตัดมาประกอบเป็นโครงสร้างรถพร้อมกับโครงล้อ
     จากนั้นก็ใช้แรงมือในการบังคับไปข้างหน้า

วิธีการเล่น
    จับตัวรถแล้วใช้แรงมือในการบังคับให้รถวิ่ง ถ้าจะให้วิ่งเร็วก็ออกแรงเยอะๆ ถ้าให้วิ่งช้าก็ค่อยๆปล่อยจากมือไป

ความรู้ที่ได้รับ
         ทักษะการคิด
         กระบวนการต่างๆ
         การแยกแยะ

การนำไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำเอาความรู้ที่ได้มาทั้งหมดและการทำกิจกรรมต่างๆไปบูรณาการกับเด็กปฐมวัยได้

ประเมินผล
      ประเมินตนเอง  สามารถเข้าใจในบทเรียนได้ดี
      ประเมินเพื่อน    ทุกคนต่างตั้งใจเรียนหนังสืออย่างมีความสุข
      ประเมินครูผู้สอน  อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถามทุกครั้งค่ะ



Tuesday  30  August  2559


       การเรียนการสอน
การเรียนของวันนี้ อาจารย์ได้แจกกระดาษเขียนตามรอยปะ ก ถึง ฮ ให้กับนักศึกษาทุกคนเพื่อให้ฝึกการคัดพยัญชนะไทยให้สวยงามจะได้นำไปฝึกในการสอนเด็กปฐมวัย และมีความคล่องแคล่วในการเขียน การฝึกให้เป็นนิสัยของการเขียนหัวกลมตัวเหลี่ยม




หลังจากที่คัดลายมือเสร็จ อาจารย์จึงได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมโดยมีอุปกรณ์ให้ 2 อย่างคือ คลิปกับกระดาษ ให้นักศึกษาทำอย่างไรก็ได้ตามความคิดของกลุ่มตัวเอง




ภาพกิจกรรมของแต่ล่ะกลุ่ม หน่วย อากาศ

กลุ่มที่ 1 ทำรถ
            พับกระดาษเป็นรูปรถโดยทดลองว่าถเาใช้คลิปหนีบรถจะเคลื่อนไหวอย่างไร
ครั้งแรกนำคลิปมาหนีบไว้ตรงกลางตัวรถแล้วเป่า ปรากฏว่า รถสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ได้
ครั้งที่สองไม่ใช้คลิปหนีบแล้วเป่าปรากฏว่า รถไม่สามารถบังคับทิศทางได้ แสดงให้เห็นได้ว่า การเคลื่อนที่ของรถจะได้อาศัยส่วนประกอบที่สามารถทำให้รถบังคับทิศทางของมันได้



กลุ่มที่ 2 ทดลองสิ่งของทั้งสองสิ่ง
              โดยปล่อยกระดาษและคลิปลงสู่พื้นและสรุปว่า ของชิ้นไหนถึงพื้นก่อน
              จากที่สังเกตเห็นจะเห้นกระดาษจะลอยตัวในอากาศได้ดีเนื่องจาก กระดาษมีพื้นที่ในการบังคับ
              ตัวลงสู่พื้นได้ดีต่างจากคลิปที่มีน้ำหนักกว่ากระดาษจึงทำให้ร่วงลงสู่พื้นก่อน



กลุ่มที่  3 วาดรูปภาพอากาศต่างๆ
               เป็นการนำคลิปมาทำเป็นเข็มนาฬิกาเวลาที่จะอธิบายถึงช่วงอากาศไหนก็จะนำเข็มชี้ไปทางนั้น
               เช่น ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว 



กลุ่มที่  4 พับกระดาษเป็นลูกยาง
               กางกระดาษที่ตัดไว้คนล่ะฝั่งแล้วนำคลิปมาติดไว้ด้านที่ไม่ได้ตัด แล้วพับส่วนที่ตัดกระดาษไปคนล่ะด้านเพื่อที่จะนำมาทดลองเล่นว่าจะสามารถลอยตัวในอากาศเป็นอย่างไร

           

กลุ่มที่ 5 พับนกกระดาษ
              เป็นการทดลองที่ใช้นกเป็นสื่อกลางโดยครั้งแรก ถือเส้นเชือกนกไว้แล้วนำกระดาษมาประกบข้างๆสังเกตการเคลื่อนไหวของนก ครั้งที่สอง เอากระดาษออกสังเกตที่ตัวนกว่าระหว่างอากาศครั้งแรกกับครั้งที่สอง นกเคลื่อนไหวได้หรือเปล่า



กลุ่มที่ 6  การพับกังหัน
               เป็นการทดสอบแรงในอากาศว่ามีมากหรือน้อย ถ้าอากาศช่วงนั้นลมแรงกังกันก็จะหมุนเร็ว
               แต่ถ้าอากาศช่วงนั้นอากาศไม่มี แรงลมก็จะทำให้กังหันหมุนช้าหรือไม่หมุนเลย



ความรู้ที่ได้รับ
- การเคลื่อนที่
- แรง
- อากาศ
- แรงโน้มถ่วง
- การวางแผน

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กหรือทำสื่อต่างๆให้เด็กตามมุมของห้องเรียนอีกทั้งนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

ประเมินผล 
ประเมินตนเอง  เข้าใจในเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น
ประเมินเพื่อน    มีความร่วมกันในการทำงานดีมากค่ะ
ประเมินครูผู้สอน  อาจารย์ตรงต่อเวลาและสอนไม่เครียดมากค่ะ





วันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2559

     เรียนรู้นอกห้องเรียน
มหกรรมงานวันวิทยาศาสตร์ประจำปี
ที่เมืองทองธานี

                 วันวิทยาศาสตร์เป็นงานจัดกิจกรรมการแสดงต่างๆในแต่ล่ะบูทให้ผู้คนที่มาได้มาชมความมหัศจรรย์ในทางวิทยาศาสตร์และยังเป็นการที่ได้มาเรียนรู้สิ่งต่างๆเพิ่มเติมจากความรู้ที่มีอยู่








การทำน้ำหมักชีวภาพ
        เทคโนโลยีสาขาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตรูปแบบใหม่ที่ได้จากการใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ และกระบวนการต่างๆของสิ่งมีชีวิต
        เทคโนโลยีการหมัก เป็นขอบเขตหนึ่งของเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่นำเอาจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม โดยอาศัยการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์เจริญเติบโต และเอื้อให้จุลินทรีย์สร้างน้ำย่อยหรือเอนไซม์เพื่อเปลี่ยนแปลงวัตุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ
   


นิทรรศการภูมิอากาศ
เป็นบูทการถ่ายทำการแสดงเรื่องราวต่างๆในภูมิอากาศในโลกให้ทุกคนได้เข้าชมละครเรื่องสั้น




เซลล์ของสัตว์และพืช






มหัศจรรย์แห่งไข่
โซนที่1 ไข่ จุดกำหนดชีวิต จุดกำเนิดเรา
โซนที่ 2  มหัศจรรย์แห่งไข่
โซนที่ 3 ไข่ไขไอเดีย
โซนที่ 4 สาระไข่น่ารู้ 






ชีวิตใต้น้ำของเหล่าปลาต่างๆ
       เป็นการใช้ชีวิตของเหล่าฝูงปลานานาชนิดที่อาศัยอยู่ใต้น้ำร่วมกัน โดยต้องอาศัยดอกไม้ที่สามารถอยู่ใต้น้ำได้และเป็นแหล่งที่อยู่ของเหล่าปลาที่ใช้ในการอาศัยหลับนอนหรือหลบสิ่งที่เป็นอันตราย






บูทชั่งน้ำหนักระหว่างอยู่นอกโลก
เป็นแรงดึงดูดของโลกถ้ามนุษย์เราอยู่ในโลกจะมีน้ำหนักที่หนักกว่าคนที่อยู่นอกโลก เพราะไม่มีแรงดูดดึงดูดของโลกจึงทำให้คนที่อยู่นอกโลกสามารถลอยตัวได้ในอากาศ




 สนามจรวจ
      สามารถที่จะนำจรวจที่ตนเองพับมานำทดลองโดยใช้แรงแขนของตัวเราในการบังคับแรงการขว้างจรวจ


ทักษะที่ได้รับ
     การคิด
     การทดลอง
     การออกแบบ
     การวางแผน
     การสังเกต

การนำไปประยุกต์ใช้
     นำความรู้ที่ได้รับมาบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย



วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

Tuesday 23 August 2559

       บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้อากาศดีมากเพื่อนๆทุกคนมาเรียนตามปกติและก็นั่งรออาจารย์ สักพักอาจารย์ไลน์มาบอกว่าติดประชุมด่วนให้มาเอาเอกสารงานไปอ่านและสรุปลงกระดาษที่ให้

รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
     เด็กอายุ  3  ปี
ด้านร่างกาย  - วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
ด้านอารมณ์  -แสดงออกตามความรู้สึก
ด้านสังคม    -  รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
ด้านสติปัญญา  -  บอกชื่่อตนเองได้

เด็กอายุ  4  ปี
ด้านร่างกาย  - วิ่งอ้อมโดยไม่ชน
ด้านอารมณ์  -  ชอบท้าทายผู้ใหญ่
ด้านสังคม     -  แต่งตัวได้ด้วยตนเอง
ด้านสติปัญญา  -  จำแนกสิ่งต่างๆได้

เด็กอายุ  5 ปี
ด้านร่างกาย  -  กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าได้คล่องแคล่ว
ด้านอารมณ์  -  ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
ด้านสังคม    -  รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
 ด้านสติปัญญา  -  สนทนาโต้ตอบ




หลักการแนวคิดของนักทฤษฏี

ฟรอยด์ เชื่อว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคคลิกภาพของคนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
อิริคสัน เชื่อว่า การที่เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี จะส่งผลให้เขาประสบผลสำเร็จไปในแต่ล่ะขั้น
กีเซล  เชื่อว่า  พัฒนาการของเด็กเป็นไปตามแบบแผน
เพียเจย์  เชื่อว่า  พัฒนาการด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น
สกินเนอร์  เชื่อว่า  ถ้าเด็กได้รับคำชมหรือคำพูดที่ดี เด็กจะมีความตั้งใจในการทำกิจกรรมต่อไป
เฟรอเบล  เชื่อว่า  ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็ก
ดิวอี้  เชื่อว่า  เด็กเรียนรู้ด้วยการกระทำ
เอลคายน์  เชื่อว่า  การเร่งเด็กแต่เล็กจะส่งผลไม่ดีแก่ตัวเด็ก
เปสตาลอสซี่  เชื่อว่า  ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญต่อตัวเด็ก

ทักษะที่ได้รับ
     ความรู้เดิมที่นำมาทบทวนให้มีความจำมากยิ่งขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำไปสังเกตเด็กตามโรงเรียนที่เราจะไปสังเกตการสอนหรือสอน

ประเมินผล
    ประเมินตนเอง  เข้าใจในเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น
    ประเมินเพื่อน    มีความสุขกับการเรียนรู้เพิ่มเติม
    ประเมินครูผู้สอน  อาจารย์ตรงต่อเวลาและนึกถึงนักศึกษาตลอด







วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

Tuesday 16 August 2559

บรรยากาศในห้องเรียน
       วันนี้เป็นการเริ่มเข้าสู่เนื้อหาเพื่อนๆในห้องต่างมีความสุขกับการมาเรียน หลังจากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษเอสี่ให้นักศึกษาคนล่ะแผ่นแล้วให้ทำมายแมบก่อนเรียนเกี่ยวกับรายวิชาจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




ความรู้ที่ได้รับ
         วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา อย่างเช่น การทดลอง การสังเกต การจำ
พลังงานคือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา เช่น พลังงานลม พลังงานไฟฟ้า พลังงานน้ำ

การเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5
    -  พัฒนาการทางทักษะ
    -  การเปรียบเทียบ
    -  การสังเกต
    -  การแก้ปัญหา
    -  การคิดวิเคราะห์

ทักษะที่ได้
   -   การคิดไตรตรอง
   -  การสังเกต
   -   การคาดคะเน
   
การนำไปประยุกต์ใช้
    -  สามารถนำเอาความรู้ความเข้าใจต่างๆไปใช้ให้เกิดประโยชน์
    - เรียนรู้จากการสังเกตสิ่งรอบตัว

ประเมินผล
      ประเมินตนเอง
             เข้าใจเนื้อหามากขึ้นจากที่เดิมและได้ความรู้เพิ่มเติมเข้ามา
      ประเมินเพื่อน
             เพื่อนต่างมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ดี
      ประเมินครูผู้สอน
            อาจารย์ให้ความรู้ใหม่ๆมาเสมอและแต่งกายเรียบร้อยด้วยค่ะ


     
Tuesday 9 August 2559

บรรยากาศในห้องเรียน
      วันนี้เป็นวันเรียนวันแรกของวิชาจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อนๆทุกคนต่างพากันตื่นเต้นมากและเมื่ออาจารย์เข้ามาในห้องเรียนก็ได้พูดคุยกับนักศึกษาก่อนจะเข้าสู่บทเรียน
และได้ให้ทำบล็อกเพื่อจะเก็บผลงานไว้ จากนั้นได้อธิบายถึงเนื้อหาของการเรียนในรายวิชานี้

ความรู้ที่ได้รับ
    -   ได้รู้คำศัพท์ใหม่ๆเข้ามา
    -   การคิดต่างๆ
    -   วิเคราะห์หาข้อมูล
    -   การเรียนรู้จากการสังเกต
    -   ลงมือปฏิบัติ

ทักษะที่ได้รับ
   -   การคิด
   -   การสังเกต
   -   การจำ

การนำไปประยุกต์ใช้
    เป็นการนำเอาความรู้เกี่ยวกับทางด้านวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันและยังสามารถนำไปจัดแผนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้อีกด้วย

ประเมินผล
      ประเมินตนเอง
             เข้าใจในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
      ประเมินเพื่อน
             เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการเรียนดีค่ะ
      ประเมินครูผู้สอน
             อาจารย์มาสอนตรงตามเวลาและให้ความเข้าใจดีมากเลยค่ะ

1. Sciences  วิทยาศาสตร์
2. Experience  การจัดประสบการณ์
3. Assessment  การประเมิน
4. Analyse  วิเคราะห์
5. Narrate   บรรยาย